การติดตั้งกระเบื้องผนัง
กระเบื้องเซรามิกนั้นถือได้ว่าเป็นวัสดุที่ทนทานเป็นพิเศษและถ้าคุณต้องเลือกหรือกำลังมองหาวัสดุปุผนังเก๋ไก๋ และ ทนทาน แน่นอนเลย กระเบื้องเซรามิกนั้นถือได้ว่าเป็นวัสดุที่นิยมอันดับต้นๆ เพราะทั้งรักษาทำความสะอาดง่าย การบำรุงดุแลก็ทำได้ง่าย ราคาย่อมเยา มีดีไซน์รูปแบบให้เลือกหลากหลายอีกด้วย
วัสดุและอุปกรณ์
- แว่นตาป้องกันฝุ่นและเศษสิ่งสกปรก
- เครื่องตัดกระจกตัดกระเบื้อง
- ไม้ฉาก
- เศษผ้าทำความสะอาด
- ฟองน้ำ
- กาวซีเมนต์/กาวติดกระเบื้อง
- ดินสอ
- ตลับเมตร
- ค้อน
- กระเบื้องเซรามิก
- ตัวเว้นร่องมาตรฐานแนวกระเบื้อง
- สีโป๊
- ซิลิโคนอุดรูรั่ว
- ยาแนว
มาเริ่มกันเลย!
แน่นอนว่าไม่ว่าจะเป็นการปู หรือ ติดตั้งกระเบื้องผนังหรือพื้น ก็แล้วแต่ล้วนแต่มีขั้นตอนพื้นฐานคล้ายกันเสมอ หากแต่อาจจะมีขั้นตอนที่เพิ่มหรือเปลี่ยนไปบางตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของวัสดุต่างๆ หรือขั้นตอนเทคนิคเฉพาะต่างๆ
ส่วนในเรื่องของขั้นตอนแรกๆ แน่นอนว่าคุณก็ต้องเตรียมพื้นผิวนั้นในสะอาดเนี๊ยบ เพื่อให้พร้อมสำหรับการปูกระเบื้อง
ขัดเช็ด ทำให้พื้นผิวนั้นเนียบเรียบเสมอกัน จากนั้นทิ้งผนังนั้นให้แห้งสนิท อาจจะใช้ สีโป๊ขัดเงา เพื่อเพิ่มความเงามันวาว ให้กับพื้นผิว จากนั้นก็ใช้sub board/subfloor หรือพื้นรอง เป็นตัวขั้นกลางระหว่าง พื้นผิวที่แท้จริง
•นำพื้นผนัง / พื้นห้องน้ำ นั้นออกและทำความสะอาดพื้นผิวนั้นก่อน
•ทำพื้นผิวให้เรียบ อาจเพิ่มความเงามันวาวเข้าได้ได้ หากต้องการ
• กลบรอย หลุม ร่องต่างๆที่อยู่บริเวณพื้นผิวนั้นๆ
•ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพอาจจะใช้บอร์ดซีเมนต์มาเป็นพื้นรองอีกชั้น เพื่อเพิ่มความแข็งแรงทนทานมากยิ่งขึ้น
เมื่อติดตั้งกระเบื้องผนังในห้องน้ำ ควรจะทิ้งช่วงระยะห่างของขอบผนังหรือขอบพื้นไว้สัก 1/8 ของพื้นที่นั้นๆ เผื่อการติดตั้งเครื่องสุขภัณฑ์ต่างๆ อาจทำได้โดยง่าย แล้วใช้ยาแนวหรือซิลิโคนมาเพื่อกลบปิดช่องว่างๆนั้นๆ เพื่อความเรียบร้อยสวยงาม
เลือกรูปแบบสำหรับกระเบื้องของคุณ
เลือกรูปแบบการใช้งาน การวางกระเบื้อง ตามภาพดังกล่าว

•รูปแบบแจ็คกับแจ็ค ส่วนใหญ่แล้วนั้นมักเป็นที่นิยม นั้นคือ การวางกระเบื้องแบบสี่เหลี่ยมตารางหมากรุก 3
••รูปแบบพันธบัตร หรือการวางกระเบื้องแบบเรียงแถว เป็นการวางโดยง่ายและไม่ซ้ำซ้อน
การวางแบบกระเบื้อง
ผนังในบ้านส่วนใหญ่ นั้นมักจะวางรูปแบบ แบบง่ายๆไม่ซ้ำซ้อน วิธีการวางที่ง่ายนั้นจะช่วยทำให้คุณนั้นคำนวณการวางกระเบื้องได้ง่ายดาย และ สะดวกต่อการเก็บรายละเอียดของชั้นงาน
ขั้นตอนที่ 1
ร่างแบบ พร้อมจัดเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ก่อนการลงมือ ออกแบบแถวการวางให้ตรงตามตำแหน่งให้ดี (พิจารณาทั้งความกว้างของกระเบื้องและยาแนวเส้น.) จัดชิดติดตรงขอบตามแนวที่กำหนดไว้ ( ที่มีขอบหรือกับด้านบนของแถว ของกระเบื้อง ทำเครื่องหมายกระเบื้องและอย่าลืมเว้นช่องว่างเพื่อที่จะได้หยอดยาแนว )
ขั้นตอนที่ 2
ทำเครื่องหมายในการวางกระเบื้องให้แม่นยำ
ขั้นตอนที่ 3
หากคุณกำลังปูกระเบื้องห้องน้ำ, ให้วัดความกว้างของกระเบื้องบวก เพิ่มอีก1/8 นิ้วจากจุดต่ำสุดไปสู่จุดที่สูงสุด เพื่อที่จะเว้นพื้นที่นั้นในการติดตั้งเครื่องสุขภัณฑ์ หรือ หยอดยาแนวได้ง่าย ทำเครื่องหมายให้เห็นชัดเจน และง่ายต่อการลบด้วย เพื่อแก้ไขหรือปรับเปลี่ยน
ขั้นตอนที่ 4
เริ่มวางกระเบื้องตามเครื่องหมายและตำแหน่งที่วางไว้
ขั้นตอนที่ 5
เริ่มวางกระเบื้องจากตำแหน่งที่คุณสะดวกและมั่นใจที่สุด อาจเริ่มวางจาก บริเวณที่ใกล้จุดศูนย์กลางและค่อยๆ ทยอยไปตามแนวนอนหรือแนวตั้ง ตามความถนัด แนะนำว่าหากการวางในตอนท้ายนั้นไม่ลงตัวอาจจะปรับเปลี่ยนหรือตัดกระเบื้องออกบางส่วน สามารถทำได้
ขั้นตอนที่ 6
การวางกระเบื้องควรทำมุมให้ตรงตามเส้นที่กำหนด 90 องศา และใกล้เคียงกับจุดศูนย์กลาง เพื่อแนวที่ตรงเรียบเสมือนมืออาชีพ และควรวางให้ได้ระยะห่างเท่าๆกัน อ้างอิงจากแบบร่างที่คุณร่างไว้แล้ว
การติดตั้งกระเบื้อง
ขั้นตอนที่ 1
วางกระเบื้องแบบเปล่าๆให้ได้ตามแบบที่คุณต้องการ
ขั้นตอนที่ 2
จากนั้นฉาบด้วยปูนซีเมนต์/ปูนกาวซีเมนต์บริเวณพื้นที่นั้น จากนั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดเกาะมากขึ้น ควรใช้เกรียงหยักหรือเกรียงหวีเพื่อทำให้ปูนกาวนั้นแพร่กระจายในอัตราส่วนที่ลงตัวและเสมอกัน อย่างมากที่สุด
ขั้นตอนที่ 3
กดกระเบื้องที่จะวางด้วยน้ำหนักที่พอดี หากกดเยอะมากเกินไป ปูนกาวอาจล้นออกมา ควรทำความสะอาดทันทีด้วยฟองน้ำชุบน้ำหมาดๆ
ขั้นตอนที่ 4
อาจจะใช้ตัวเว้นร่องมาช่วยในการวางกระเบื้องเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการติดตั้งให้มากขึ้น
ขั้นตอนที่ 5
ดำเนินการติดตั้งตามขั้นตอนและรูปแบบที่คุณกำหนดไว้
ขั้นตอนที่ 6
เมื่อติดจั้งกระเบื้องเสร็จแล้ว ทิ้งไว้ให้กระเบื้องและปูนนั้นแห้งสนิทติดกันเป็นอย่างดี ในระหว่างนั้นเพื่องานที่เรียบร้อยและสมบูรณ์แบบ บริเวณพื้นที่ที่เลอะนั้นควรรีบทำความสะอาดโดยเร็ว เช็ดออกด้วยฟองน้ำชุบน้ำหมาดๆ เพื่อให้ให้เป็นคราบบริเวณกระเบื้องนั้นๆ
ขั้นตอนที่ 7
เมื่องานเสร็จสมบูรณ์แล้วปิดผนึกรอยต่อระหว่างอ่างและกระเบื้องโดยซิลิโคนที่เหมาะสมกับวัสดุและการใช้งาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานให้คงทนและมีอายุยืนยาว
การตัดและการติดตั้งกระเบื้อง
เกือบทุกงานปูกระเบื้องที่ต้องมีการตัดกระเบื้องเพื่อให้พอดีกับชิ้นงาน พื้นที่นั้นๆ บางชนิดก็สามารถตัดได้ง่าย บางชนิดนั้นก็ยาก ทั้งนี้ความยากง่ายอาจจะมีเทคนิคพอช่วยให้เราสามารถตัดกระเบื้องได้ดีเหมือนมืออาชีพ
*หากตัดกระเบื้องนั้นเราแนะนำให้ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ทำมาเพื่องานนี้โดยเฉพาะ จงคำนึงไว้เลยว่า กระเบื้องนั้นง่ายต่อการแตกหัก เราควรใช้เลื่อยเปียกเป็นเครื่องมือในการตัด เพราะจะทำให้ขอบของกระเบื้องนั้นสวยงาม และหากมีส่วนใดเกินมาอาจจะใช้คีมตัดกระเบื้องเล็มขอบอีกทีหนึ่งก็สามารถทำได้
ใช้คีมตัดกระเบื้อง
ควรออกแรงดันด้วยการบีบจับ / ใช้มือข้างที่ว่างของคุณจะถือด้านข้างของกระเบื้องที่คุณจะใช้
การใช้เครื่องตัดกระเบื้อง
ควรวัดและทำเครื่องหมายบนกระเบื้องที่คุณจะตัด/จัดวางตำแหน่งให้พอดี/ค่อยๆดันกระเบื้องให้พอดีกับตำแหน่งที่คุณตัด/เมื่อได้ตำแหน่งที่พอเหมาะดีแล้วยกด้ามตัดค่อยๆตัดลงอย่างแม่นยำ
ใช้เลื่อยเปียก
ควรวัดและทำเครื่องหมายบนกระเบื้อง/จัดวางตำแหน่งให้พอดี/ค่อยๆดันกระเบื้องให้พอดีกับตำแหน่งที่คุณจะตัด/ใช้ใบมีดเลื่อยช้าๆตามรอยเส้น
การเจาะรูกระเบื้อง
ใช้ดินสอเพื่อทำสัญลักษณ์ในการเจาะหลุม / เจาะด้วยดอกสว่านขนาดประมาณตามความกว้างของหลุมที่คุณต้องการเจาะ /*เจาะด้วยน้ำหนักที่เบา ไม่ควรใช้แรงกดเยอะเพราะง่ายต่อการแตกหักของกระเบื้องได้ง่าย
การติดตั้งเครื่องสุขภัณฑ์หรืออุปกรณ์บริเวณรอบๆ กระเบื้อง(ในกรณีที่ต้องตัดกระเบื้องออกบางส่วน)
ใช้ดินสอทำสัญลักษณ์ตรงบริเวณที่จะทำการตัด ในกรณีนี้เราแนะนำให้ใช้คีมตัดจะดี เพราะสามารถตัดให้มีความโค้งเว้าหรือเข้าถึงบริเวณส่วนเล็กๆได้
การตัดกระเบื้องในรูปทรงต่างๆ
ขอบหยัก: ใช้คีมตัดกระเบื้องหรือคีมแทะปิดขอบไม่สม่ำเสมอของกระเบื้องให้ค่อยๆหลุดออก
ขอบหยาบ: ใช้คีมตัดกระเบื้องตัดตามรูปทรงที่ร่างไว้แล้ว
ตัดขอบ: เก็บงานและขอบให้เรียบร้อยด้วยกระดาษทราย
การเชื่อมต่อ / การหยอดยาแนวบริเวณข้อต่อ
ขั้นตอนที่ 1
ผสมปูนไม่ควรเหลวเกินไป (ความข้นคล้ายเนยถั่ว) เทปูน/ยาแนว ลงบนแผ่นรองก่อนทำการหยอดลง โดยเอียงแผ่นรองทำมุมกับพื้นที่นั้น ประมาณ 45 องศา
ขั้นตอนที่ 2
ปาดหรือฉาบยาแนวหรือปูนที่จะเคลือบลงไปบริเวณพื้นที่นั้น
ขั้นตอนที่ 3
หลังจากนั้นประมาณสัก 20 นาที เช็ดทำความสะอาดโดยการปาดปูนเช็ดออกด้วยฟองน้ำชุบผ้าหมาดๆบริเวณส่วนเกินที่ล้นออกมา
ขั้นตอนที่ 4
ใช้นิ้วจิ้มลงบริเวณที่ยอดยาแนวเบาๆ เพื่อเช็คว่ายาแนวนั้นแห้งสนิทดีแล้ว และมีความยืดหยุ่นพอดี
ขั้นตอนที่ 5
เมื่อยาแนวแห้งสนิทดีแล้ว ทิ้งไว้แล้วจึงทำการปิดผนึกหรือเคลือบกระเบื้องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานให้ดียิ่งขึ้น