สร้างบ้าน precast
แนวโน้มการก่อสร้างบ้านด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป หรือ บ้านระบบ Precast, พรีแคส
จากการพัฒนาวิธีการก่อสร้างของประเทศไทย จากสมัยก่อนใช้วัสดุก่อสร้างเป็นไม้ มีการก่อสร้างอย่างง่ายๆ พัฒนามาเป็นการใช้คอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบันเพราะมีความแข็งแรง และมีการพัฒนามาใช้คอนกรีตอัดแรงในงานอาคารสูงเพื่อลดค่าใช้จ่าย
และใน 10 ปีที่ผ่านมาระบบการก่อสร้างแบบใหม่ คือระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในประเทศไทย

เหตุที่การก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนสำเร็จรูป (Precast Concrete) เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นเนื่องจากจุดแข็งของระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปที่ตอบโจทย์การก่อสร้าง อันได้แก่
1.Time (ลดระยะเวลาการก่อสร้าง)
2. Cost (ลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง)
3.Quality (สามารถควมคุมคุณภาพการก่อสร้างได้ดีกว่า) โดยกล่าวโดยสังเขปได้ดังนี้
1. Time : การก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปสามารถลดเวลาก่อสร้างได้อย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับระบบก่อสร้างแบบเดิม โดยในบ้าน 1 หลังหากก่อสร้างด้วยระบบเสา-คาน ก่ออิฐแบบเดิมจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-4 เดือน แต่เมื่อเทียบกับระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปสามารถทำได้ภายใน 1 สัปดาห์ สาเหตุที่ระบบ Precast สร้างได้เร็วกว่าเนื่องจากผนังจะถูกหล่อมาเป็นชิ้นไม่ต้องเสียเวลาก่ออิฐฉาบปูนเหมือนระบบเดิม

2. Cost : แม้ว่าเมื่อเปรียบเทียบเฉพาะวัสดุแล้วชิ้นส่วน Precast (ที่ทำจากคอนกรีต) จะมีราคาแพงกว่าอิฐ แต่การใช้ระบบ Precast จะใช้แรงงานน้อยกว่า และไม่ต้องเสียค่าไม้แบบ
นอกจากนี้การที่ก่อสร้างที่เร็วยังลดค่าดำเนินการ (Overhead) ลงด้วย เมื่อเทียบโดยรวมแล้วค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปจึงมีราคาค่าก่อสร้างถูกลง
ยิ่งในสถานะการณ์ที่ค่าแรงมีแนวโน้มสูงขึ้นด้วยการก่อสร้างด้วย Precast จึงเป็นทางเลือกในอนาคตอย่างไม่ต้องสงสัย
3. Quality : เนื่องจากชิ้นส่วนต่างๆ จะถูกผลิตมาจากโรงงาน ทำให้การควบคุมคุณภาพทำได้ง่าย เพราะไม่ถูกรบกวนด้วยสภาพอากาศ (แดด ฝน) และไม่ขึ้นกับฝีมือแรงงานมาก เพราะหากเป็นงานก่ออิฐฉาบปูนจะต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญมากผนังจึงจะออกมาดี แต่หากเป็นชิ้นส่วน Precast จะไม่ต้องใช้ช่างที่มีฝีมือแรงงานมาก

นอกจากนี้ระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปยังมีข้อได้เปรียบเหนือระบบเสา-คาน อีกหลายด้าน เช่น ความสามารถในการป้องกันเสียงรบกวน ความแข็งแรงของผนังที่ทำให้ปลอดภัยต่อการบุกรุก
แม้ว่าระบบก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปจะมีข้อดีมากมาย แต่ก็มีผู้บริโภคบางส่วน ยังมีความไม่มั่นใจในระบบนี้ ทั้งในเรื่องการรั่วซึม และปัญหารอยร้าว
โดยปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น อาจจะเป็นความฝังใจจากบ้านที่ก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนสำเร็จรูปของประเทศไทยในช่วงแรก เพราะแม้ระบบนี้จะใช้อย่างแพร่หลายในต่างประเทศมานานแล้วก็ตาม แต่เมื่อนำมาใช้ในประเทศไทย จึงต้องทำมีช่วงเรียนรู้ลองผิดลองถูก เช่น การลอก Joint จากต่างประเทศมาใช้เลย แต่เนื่องจากประเทศไทยมีฝนตกชุกกว่าทำให้วิธีการป้องกันน้ำแบบเดิมจึงใช้ไม่ได้ หรือบ้านที่เกิดรอยร้าวขึ้น เพราะผู้ออกแบบและผู้รับเหมาในช่วงแรกๆ ยังไม่มีความชำนาญที่เพียงพอ
ซึ่งในปัจจุบันวิธีการก่อสร้างชิ้นส่วนระบบสำเร็จรูปได้มีการพัฒนาปรับปรุงจนสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้แล้ว
ระบบก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนสำเร็จรูปปัจจุบันส่วนมากจะถูกใช้ในบ้านจัดสรร และเริ่มมีการนำไปก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ จะไม่ค่อยเห็นใช้ในก่อสร้างบ้านส่วนตัวมากนัก
เนื่องจากการก่อสร้างระบบนี้จะต้องมีค่าใช้จ่ายเบื้องต้นสูงในตอนตั้งโรงงาน (Fix Cost) ทำให้หากจะคุ้มทุนจะต้องสร้างด้วยปริมาณที่มากพอสมควร ซึ่งปกติจะต้องสร้างเป็นจำนวนอย่างน้อย 20 หลังขึ้นไป
เดอะตรีทัช รับปรึกษา และสร้างโครงการหมู่บ้านจัดสรรด้วยระบบ Precast
ด้วยทีมงานวิศวกร ระดับ สย.
จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ติดต่อ คุณก้อง 086-3690493
(1).jpg)
ระบบการสร้างบ้านแบบทั่วไป คือ ระบบเสาคาน หล่อในที่
เปรียบเทียบกับการสร้างบ้านด้วยระบบหล่อสำเร็จ (Precast)
มีประเด็นที่เกี่ยวข้องดังนี้
1. จำนวนคนงานที่ต้องใช้
2. ระยะเวลาการก่อสร้าง
3. ต้นทุนการก่อสร้าง เฉลี่ยเป็นบาท/ตร.ม.
4. สิ่งที่ควรคำนึงถึงของการสร้างบ้านทั้งสองระบบ
ข้อดีของการสร้างบ้านระบบ Precast
- การสร้างบ้านด้วยระบบ precast จะช่วยให้ประหยัดเวลาการก่อสร้าง จากที่เมื่อก่อนเรานิยมใช้ แผ่นพื้นสำเร็จ
ซึ่งประสบปัญหา ค่าแรงแพง คนงานหาได้ยาก ไว้ใจไม่ได้ ชอบทิ้งงาน ต่อมาโครงการบ้านจัดสรรจึง เริ่มหันมาทำ precast ทั้งระบบ
คือทั้ง คาน เสา และผนัง
- ระยะเวลาก่อสร้าง ระบบprecast. เร็วกว่า และใช้คนงานน้อยกว่า
- บ้านระบบ Precast แข็งแรงกว่า บ้านระบบเก่า
ข้อจำกัด ของการสร้างบ้านระบบ Precast คือ
- การสร้างบ้านระบบ ระบบ precast นี้ ต้องอาศัยทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญคือ มีช่างเทคนิค
และ วิศวกรโยธา ที่มีความรู้ และประสบการณ์
- และการก่อสร้างบริเวณ จุดยึดต่อ การติดตั้งจะต้อง ใช้เครื่องจักรหนัก ในการก่อสร้าง
ระบบ เสา คาน |
ระบบ Precast |
น้ำหนักลงที่เสา
|
น้ำหนักลงที่ปลายผนัง |
น้ำหนักบ้านเบากว่าเนื่องจากเป็นผนังก่ออิฐ |
น้ำหนักบ้านมากกว่าเนื่องจากเป็นคอนกรีตทั้งหลัง |
การก่อสร้างค่อนข้างช้า |
การก่อสร้างรวดเร็วกว่า |
สามารถทุบผนังก่ออิฐเพื่อเปลี่ยนแปลงต่อเติมได้ไม่มีผลต่อโครงสร้าง |
ผนังชั้นล่างไม่ควรทุบออกเนื่องจากใช้รับน้ำหนัก
แต่ผนังชั้นบนสามารถเอาออกได้ยกเว้นที่ใช้รับโครงหลังคา
(หากต้องการเอาออกจริงๆต้องปรึกษาผู้ออกแบบก่อน ซึ่งอาจมีวิธี เช่น การเสริมคานแทนเป็นต้น) |
เสา-คาน สามารถต้านทานด้านข้างได้น้อยกว่าเมื่อเทียบกับผนัง |
การรับแรงด้านข้างทำได้ดีกว่า |
มีปัญหารอยร้าวจากการฉาบปูนบนผนังก่ออิฐเกิดขึ้นเยอะมาก |
ไม่ค่อยเกิดปัญหาเรื่องรอยร้าวในผนัง |
ต้องการระยะฝ้าสูงเนื่องจากต้องเผื่อความลึกคานรวมไปถึงระยะช่องว่างของงานระบบ |
ความสูงฝ้ามากกว่าในความสูงบ้านที่เท่ากันเนื่องจากไม่มีคานขวาง |
เสียพื้นที่บางส่วนไปจากการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ไม่ลงตัว/ต้องทำ Built-in
|
สามารถจัดวางเฟอร์นิเจอร์ได้ง่ายกว่าเนื่องจากไม่มีเสา
|
สามารถแก้ไข/เพิ่มเติม ท่อร้อยสายไฟที่ฝังในผนังได้ง่าย
|
หากต้องการเดินสายไฟเพิ่มเติมต้องเดินลอยเท่านั้น
|